การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าซิ่นคั่นฝ้ายของกลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
Product Development from Cotton Sarong Saraps of The Local Weaving Group Ban TiewSubdistrict,Lom Sak District, Phetchabun Province
อภิชาติ สุวรรณชื่น*, สุภาพร บางใบ, ชนิรัตน์ ผึ่งบรรหาร และจิตราทิพย์ บุญพิทักษ์
ที่มา : ………………………………………….
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าซิ่นคั่นฝ้ายของกลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และความพึงพอใจของผู้บริโภค ที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าซิ่นคั่นฝ้ายของกลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในถนนคนเดินไทหล่ม จำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวต้องการให้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าซิ่นคั่นฝ้ายในด้านรูปแบบของผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้ ได้แก่ หมอนอิง และกล่องกระดาษทิชชู และผลิตภัณฑ์ประเภทของที่ระลึก / ของชำร่วย ได้แก่ ซองใส่โทรศัพท์มือถือ และกระเป๋าถือ โดยผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าซิ่นคั่นฝ้ายนั้น ต้องมีสีดั้งเดิม นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากเศษผ้าซิ่นคั่นฝ้ายของกลุ่มทอผ้าพื้นบ้านตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้ง 2 ประเภท อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.24) ผลการศึกษายังพบว่า สมาชิกของกลุ่มทอผ้าพื้นบ้าน ตำบลบ้านติ้ว สามารถผลิตชิ้นงาน และเข้าใจกระบวนการผลิตชิ้นงานทุกขั้นตอน และสามารถคำนวณกำไรต้นทุน ตั้งราคาขายสินค้า สามารถประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม เพื่อจำหน่ายทั้งผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ได้
????????
Test