การพัฒนารูปแบบการรับมือกับภาวะหมดไฟ

senior couple relax playing acoustic guitar bed room

บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการรับมือกับภาวะหมดไฟของผู้ดูแล
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ 1) ศึกษา
กรอบแนวคิดในการวิจัย จากการวิเคราะห์เอกสาร 2) ศึกษาภาวะหมดไฟผู้ดูแลผู้สูงอายุโดยใช้
แบบสอบถาม เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 288 คน 3) ศึกษารูปแบบและพัฒนารูปแบบ
การรับมือกับภาวะหมดไฟโดยการสนทนา เลือกตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นกลุ่มภาคีเครือข่าย
สุขภาพ จำนวน 20 คน เพื่อนำมาร่างรูปแบบ และ 4) ทดลองใช้และประเมินรูปแบบการรับมือ
กับภาวะหมดไฟ โดยใช้แบบประเมินและสัมมนาประชาพิจารณ์ จำนวน 34 คน เลือกตัวอย่าง
แบบเจาะจง ใช้วิเคราะห์สถิติค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดย
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปเป็นภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการรับมือ
กับภาวะหมดไฟของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ด้านสภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุภาวะหมดไฟ ได้แก่
ภาวะหมดไฟ อยู่ระดับปานกลาง (𝑥 = 1.63) และภาวะความเครียด อยู่ระดับปานกลาง
(𝑥 = 1.80) ปัญหาคือ การผู้ดูแลผู ้สูงอายุด้านสุขภาพ การเงิน สุขอนามัย จิตใจ ด้านรูปแบบ
และพัฒนารูปแบบการรับมือกับภาวะหมดไฟ ได้แก่ 1) ผูกมิตรพัฒนาจิต 2) ฝึกสติ สร้างสุข
และพัฒนาตน 3) สร้างสุขทางใจ 4) เพื่อนช่วยเพื่อน 5) สร้างสุขทางกาย และ6) แลกเปลี่ยน
เรียนรู้ การทดลองใช้และประเมินรูปแบบคือ 1) ภาวะหมดไฟ 2) ภาวะความเครียด 3) ภาวะ
วิธีการรับมือกับปัญหา และ 4) การติดตาม ประสิทธิผลของรูปแบบ ภาพรวมอยู่ระดับมาก
(𝑥 = 4.40) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ดังนั้น รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิผล
ทำให้ภาวะหมดไฟผู้ดูแลผู้สูงอายุ ความเครียดลดลง และการรับมือกับปัญหาดีขึ้น

คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบ, การรับมือกับภาวะหมดไฟ, ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง,
จังหวัดเพชรบูรณ์

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Loading

Rate this post