แนวทางการพัฒนาคุณภาพระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/266983
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร 2) จัดลำดับความต้องการในการพัฒนาคุณภาพและเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือรายงานผลการประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2564 ตามเกณฑ์ AUN-QA จำนวน 9 หลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผลรวมคะแนนเฉลี่ยทุกเกณฑ์ของแต่ละหลักสูตร คะแนนต่ำ สุดเท่ากับ 3.71 และคะแนนสูงสุดเท่ากับ 3.88 เมื่อเทียบกับคุณภาพและระดับความต้องการในการพัฒนาตามเกณฑ์ พบว่า ทุกหลักสูตรมีผลรวมคะแนนเฉลี่ยอยู่ในช่วงคะแนน 3.00 หมายถึง คุณภาพไม่เพียงพอ แต่ปรับปรุง แก้ไข หรือพัฒนาเพียงเล็กน้อย จะสามารถทำ ให้หลักสูตรมีคุณภาพเพียงพอได้ เมื่อเทียบกับเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการของคณะศิลปศาสตร์ ซึ่งได้กำ หนดให้หลักสูตรมีผลรวมคะแนนทุกเกณฑ์เท่ากับ 4.00 พบว่า แต่ละหลักสูตรยังไม่บรรลุเป้าหมาย สำ หรับผลการวิเคราะห์ลำ ดับความต้องการในการพัฒนาคุณภาพ พบว่า ลำดับแรก คือ AUN 8 ผลผลิตและผลลัพธ์ ลำ ดับถัดไป คือ AUN 7 สิ่งอำ นวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน
และลำดับสุดท้าย คือ AUN 4 การประเมินผู้เรียน และ AUN 6 การสนับสนุนนักศึกษา เมื่อวิเคราะห์จุดที่ควรพัฒนาตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพ เพื่อกำ หนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพAUN 8 พบว่า ควรกำ หนดคู่เทียบเคียงที่มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงกว่าเพื่อการพัฒนา เปรียบเทียบข้อมูลกับคู่เทียบทั้งผลลัพธ์และกระบวนการ และนำ ผลการเทียบเคียงมาปรับประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาหลักสูตรผลการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นข้อเสนอให้หลักสูตรใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพต่อไป
Article Details
References
กัญคดา อนุวงศ์ อาจรี ศุภสุธีกุล และวัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล. (2563). มโนทัศน์ที่ (อาจจะ) คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
(AUN-QA) ระดับหลักสูตร.วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 10(2), 14-23.
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2560). การประยุกษ์ใช้เครื่องมือเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) ในการบริหารงานภาครัฐ. วารสารวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 34(1), 135-159.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2565). แผนกลยุทธ์ พ.ศ. 2565-2569 และแผนปฏิบัติการประจำ ปีงบประมาณ 2565. https://www.libarts.psu.ac.th.
จารุวรรณ สนองญาติ กัญญดา อนุวงศ์ สุทัศน์ เหมทานนท์ และพรฤดี นิธิรัตน์. (2562). การใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
(AUN-QA) ระดับหลักสูตรในวิทยาลัยพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 25(2), 247-260.
เถลิงพร เต้าตะโร สุธาสินี บุญญาพิทักษ์ และวัลลยา ธรรมอภิบาล อินทนิน. (2561). การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินทางการ
ศึกษา (4 ปี) โดยประยุกต์ใช้เกณฑ์การประกันคุณภาพระดับหลักสูตร (AUN-QA). วารสารอัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย
ฟาฏอนี, 13(24), 149-164.
บรรณกร แซ่ลิ่ม. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการรับรู้ ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ การมีส่วนร่วม และการบริหารกับการดำ เนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารปาริชาต, 33(1), 48-61.
ฟารีดา หีมอะด้ำ . (2561). การประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินโดยประยุกต์ใช้เกณฑ์การประกันคุณภาพระดับหลักสูตร
AUN-QA. วารสารอัล-ฮิกมะฮฺมหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 8(15), 77-100.
สุรเชษฐ์ บุญยรักษ์ และวัชราภรณ์ บุญยรักษ์. (2565). การเทียบเคียงสมรรถนะคุณภาพการศึกษาจากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกของคณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำ ปาง, 11(1), 134-145.
อาคีรา ราชเวียง สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล ปัทมนันท์ หิรัญธีรวัฒน์ อนันต์ ศิลปี และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ.(2564).การเทียบเคียงสมรรถนะ 360 องศา: เครื่องมือสร้าง
องค์กรแห่งนวัตกรรมสมรรถนะสูง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งรัตนโกสินทร์, 3(3), 47-65.
ASEAN University Network. (2020). Guide to AUN-QA assessment at programme level version 4.0. https://www.aunsec.org/application/files/2816/7290/3752/Guide_to_AUN-QA_Assessment_at_Programme_Level_Version_4.0_4.pdf
Dolly, V. P. & Mukhaiyar, R. (2020). Concept of curriculum evaluation in education program of
electrical engineering using AUN-QA as benchmarking. Jurnal Pendidikan Teknologi
Kejuruan, 3(1), 1-5.
Nugroho, B. H. & Jaqin, C. (2021). Implementation of benchmarking method for higher education institution: A literature review. IJIEM
(Indonesian Journal of Industrial Engineering &Management), 2(2), 81-93.
Pham, H. T. & Nguyen, P. V. (2021). Impact study of programme assessment at three universities in Vietnam: Students’ perspectives.
European Journal of Contemporary Education, 10(2),438-449.
Refnaldi, R. Fitrawati, F. & Adnan, A. (2017). From need analysis to ELT study program learning outcome development: Meeting the standards of the ASEAN university network quality assurance (AUN-QA). In Sixth International Conference on Languages and Arts
(ICLA 2017). Indonesia.