“วิ่งทุกวัน” มีประโยชน์กับร่างกาย แต่แฝงความเสี่ยงที่อาจไม่ทันระวัง

Screenshot 2024 05 28 130311

ผลการวิจัยพบว่าการวิ่ง 5-10 นาทีต่อวัน อาจช่วยลดโอกาสในการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ และโรคอื่น ๆ ได้ แต่หากวิ่งมากเกินไป อาจได้รับความเสี่ยงมากกว่าที่คิด

การวิจัยพบว่าการวิ่ง 5-10 นาทีต่อวัน อาจช่วยลดโอกาสในการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ หัวใจวาย และโรคอื่น ๆ ได้ แต่ก็พบว่าจะไม่ได้รับประโยชน์มากขึ้น เมื่อวิ่งเกิน 4.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หมายความว่าไม่จำเป็นต้องวิ่งเต็มชั่วโมงทุกวันก็ได้ เพราะการวิ่ง เป็นการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทก ซึ่งสามารถนำไปสู่อาการบาดเจ็บ เช่น กระดูกหักหรือเจ็บหน้าแข้ง

จึงควรมีการจัดตารางให้มีวันพักผ่อน และสลับกับการออกกำลังกายแบบอื่น จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงและสุขภาพโดยรวมให้กับเรา

ประโยชน์ของการวิ่งทุกวัน

  • ลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและอาการหัวใจวาย
  • ลดความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับระบบหลอดเลือดและหัวใจ
  • ความเสี่ยงจากโรคมะเร็งลดลง
  • ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคทางระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์และพาร์กินสัน

แม้ว่าประโยชน์เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ด้วยการวิ่งเพียงเล็กน้อยในแต่ละวัน แต่นักวิจัยชาวดัตช์กลุ่มหนึ่งแนะนำให้วิ่ง 2.5 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรือ 30 นาที 5 วัน/สัปดาห์ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการมีชีวิตยืนยาว

นอกจากนั้น ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของการวิ่งคือช่วยให้การนอนหลับและอารมณ์ดีขึ้น มีการวิจัยพบว่าการวิ่ง 30 นาทีโดยใช้ความเร็วปานกลางทุกเช้า 3 วัน/สัปดาห์ จะช่วยส่งเสริมด้านการนอนหลับ สภาวะอารมณ์และความสามารถในการรวบรวมสมาธิได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่วิ่ง 
เราอาจได้รับประโยชน์เช่นเดียวกันจากการออกกำลังกายในประเภทอื่นๆนาน 30 นาที เช่น การเดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือโยคะ

วิ่งทุกวัน ปลอดภัยไหม ?

การวิ่งทุกวันอาจเพิ่มความเสี่ยงในการได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกายมากเกินไป ซึ่งอาการแบบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อออกกำลังกายมากไป เร็วไป และไม่ให้เวลาร่างกายในการปรับตัว หรือเกิดจากปัญหาทางด้านเทคนิค เช่น วิ่งโดยใช้ท่วงท่าที่ไม่ถูกต้องจนทำให้กล้ามเนื้อบางส่วนทำงานหนักเกินไป มีวิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอาการเหล่านี้คือ

  • ควรใช้ร้องเท้าวิ่งที่เหมาะสม และเปลี่ยนรองเท้าเป็นประจำ
  • ค่อย ๆ เพิ่มระยะทางวิ่งทีละนิดในแต่ละสัปดาห์
  • จัดตารางวิ่งให้มีกีฬาประเภทอื่นผสมผสานด้วย เช่น ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ
  • วอร์มร่างกายก่อนออกวิ่ง และยืดกล้ามเนื้อหลังวิ่ง
  • ใช้ท่าวิ่งถูกต้อง
  • หากได้รับบาดเจ็บจากการวิ่งให้รีบหยุดและไปหาหมอโดยทันที

และควรออกกำลังกายรูปแบบอื่น ๆ นอกเหนือจากการวิ่งเพื่อลดความเสี่ยงการบาดเจ็บ ได้ใช้งานกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ เพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของแกนกลางลำตัว ช่วยฟื้นฟูอาการบาดเจ็บ โดยไม่สูญเสียระดับความฟิต และเป็นการเพิ่มความหลากหลายในการออกกำลังกาย 

หากต้องการออกกำลังกายด้วยการวิ่งเป็นหลัก ก็ควรจะมีวันฝึกการออกกำลังกายรูปแบบอื่น ๆ ด้วย 1-2 วันต่อสัปดาห์ เช่น การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ โยคะ หรือพิลาทิส และควรมีการฝึก Strength training และ Weight Training 1-2 วัน/สัปดาห์ด้วย

Loading

Rate this post