การประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
EDUCATIONAL QUALITY ASSURANCE FOR EXTRA-LARGE SECONDARY SCHOOLS UNDER COVID-19 SITUATION
ที่มา : https://edujournal.bsru.ac.th/publishes/17/articles/299
ขจิตพันธ์ สุวรรณสิริภักดิ์
มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้อำนวยการ และตัวแทนครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ หรือชำนาญการพิเศษขึ้นไป รวมทั้งหมด 580 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอย ผลการศึกษาพบว่า 1. การประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (X1) ด้านการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (X2) ด้านการบริหารงานบุคลากร (X3) ส่งผลต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 (Y) ดังแสดงได้ในสมการที่ใช้ในการพยากรณ์ คือ = 1.985 + 3.845(X1) + 2.999(X2) + 3.123(X3) 2. แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งประกอบด้วย (1) การใช้กระบวนการการสร้างแนวการปฏิบัติที่เป็นเลิศที่เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการบริหารจัดการแบบ PDCA (2) การกำหนดมาตรฐานการศึกษาที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เป็นการวิเคราะห์และวางแผนพัฒนาหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์มาตรฐานการศึกษา และ (3) การบริหารงานบุคลากรเพื่อเข้าสู่มาตรฐานการศึกษาที่เป็นการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรให้พร้อมต่อการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ
Abstract
The purpose of this research was to study the educational quality assurance, which affects the administration of the extra-large secondary schools under COVID-19 situation. The target group used in the research were extra-large secondary schools under the Office of the Basic Education Commission and suburb area of 290 schools. The informants were 580 school principals and teachers. The instrument used in the research was a questionnaire and in-depth interview. The statistics for data analysis were the mean, standard deviation, and regression analysis. The results showed that the educational quality assurance in best practice (X1) child center learning (X2) and personnel management affects the administration of the extra-large secondary schools under COVID-19 situation (Y) , as shown in the equation: (Y ̂) = 1.985 + 3.845(X1) + 2.999(X2) + 3.123(X3). The educational quality assurance guidelines, which affects the administration of the extra-large secondary schools under COVID-19 situation consist of (1) PDCA best practice (2) child center learning standards and (3) personnel management to work under COVID-19 situation.
คำสำคัญ
การประกันคุณภาพการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ และสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
Keywords
Educational Quality Assurance / Educational of Extra-large Secondary Schools and COVID-19
เอกสารอ้างอิง
จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.
ชินภัทร ภูมิรัตน์. (2555). โรงเรียนมาตรฐานสากล ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก. สืบค้นจากhttp://www.worldclassschoolthai.net.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2545). TQM กลยุทธ์การสร้างองค์การคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ธนพร บุญวรเมธี. (2549). การจัดการคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2555). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
พิณสุดา สิริรังธศรี. (2557). การยกระดับคุณภาพ ครูไทยในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.).
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ตถาตาพับลิเคชั่น.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2543). คุณภาพคือการปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.
วีรพล บดีรัฐ. (2543). PDCA วงจรสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร: ประชาชนจำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการบริหารจัดการระบบคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=49757&Key=news_ Teerakiat
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2559). ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ การประเมิน สมศ.รอบ 4 (2559-2563). สืบค้นจาก https://webs.rmutl.ac.th/assets/ upload/ files/2017/11/20171101141827_70942.pdf.
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2542). การศึกษาสู่ยุค 2000. วารสารข้าราชการครู. 19(6), 6-10.
Charlene, T. and Diwi, B. A. (2009). The teach less, learn more initiative in Singapore: new pedagogies for Islamic religious schools. Nanyang: Korean Educational Development Institute.
Shipe, D. A. (2014). A case study about total quality management in a school district: form selection to reflection (participatory management, continuous improvement). Dissertation Abstracts International. 59 (01), 46-A.
เป็นบทความที่น่าสนใจมากๆๆค่ะ