ทำความรู้จักกับเทคโนโลยีแห่งอนาคต HPC และ Cloud

นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช.

      ปัจจุบันโลกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลปริมาณมหาศาลหรือที่เรียกกันว่า Big data[1] องค์กรชั้นนำทั่วโลกจึงต่างใช้เทคโนโลยีการคำนวณขั้นสูงในการประมวลผล วิเคราะห์ และสร้างแบบจำลองที่แม่นยำสมจริง เพื่อทลายขีดจำกัดในการทำวิจัย พัฒนา และให้บริการ ซึ่งอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการทำงานประเภทนี้ก็คือเครื่อง Supercomputer[2] หรือคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงที่มีราคาตั้งแต่หลักสิบล้านบาทไปจนถึงมากกว่าหมื่นล้านบาท

       โดยทั่วไปเทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผล Big data จะมีอยู่ 2 เทคโนโลยีหลัก คือ เทคโนโลยี “High performance computing” หรือ “HPC” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเพื่อการคำนวณและประมวลผลด้วยความเร็วสูง หากเปรียบเทียบเป็นรถก็คือรถ F1 ที่เกิดมาเพื่อใช้ในการแข่งขันทำความเร็วในสนามแข่งโดยเฉพาะ ซึ่งการใช้งานระบบ HPC อาจไม่ได้ง่ายหรือสะดวกสบายสำหรับคนทั่วไปนัก เพราะเทคโนโลยีนี้มีการพัฒนาขึ้นเพื่อกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักวิจัยหรือนักพัฒนาในภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะ ส่วนอีกเทคโนโลยีที่หลายคนอาจคุ้นชินกับชื่อและใช้เครื่อง Supercomputer ในการประมวลผลเช่นกันก็คือระบบ Cloud” หรือเทคโนโลยี Cloud computing ซึ่งเกิดมาเพื่อการทำงานคำนวณและประมวลผล Big data เช่นเดียวกับ HPC แต่จะเน้นในเรื่องการออกแบบระบบให้มีความเป็นมิตรกับผู้ใช้งานทั่วไปมากกว่า ทำให้ผู้ใช้งานทั่วไปรู้สึกว่าสามารถใช้งานได้สะดวกสบาย

HPC

ที่มา : https://aigencorp.com/tips-applying-kms-for-business/

HPC และ Cloud

       HPC อาจไม่ได้ใกล้ตัวในแง่ของการที่คนทั่วไปเป็นผู้ใช้งานเทคโนโลยี แต่หลายผลิตภัณฑ์หรือบริการใกล้ตัวที่คนทั่วไปใช้กันอยู่ในปัจจุบันต้องใช้เทคโนโลยี HPC ในการทำงาน ตัวอย่างแรกคือการพัฒนายานยนต์ ผู้ผลิตจะมีการนำเทคโนโลยี HPC มาใช้ในการวิเคราะห์ทางวิศวกรรม (Computer aided engineering) และการคำนวณพลศาสตร์ของไหล (Computational fluid dynamics) เพื่อลดเวลาและต้นทุนในการพัฒนายานยนต์สมรรถนะสูงทั้งในด้านความเร็วและความปลอดภัย ซึ่งปัจจุบันมีการนำใช้ทดแทนการทำงานแบบเดิมที่ต้องสร้างต้นแบบรถยนต์เพื่อนำมาทดสอบสมรรถนะหลายครั้งครา จนกว่าจะได้ผลงานออกแบบตามเป้าหมาย ทำให้ต้องใช้เวลาในการพัฒนานาน และต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรและงบประมาณปริมาณมหาศาล นอกจากนี้นวัตกรรมที่กำลังเป็นที่จับตาในปัจจุบันอย่าง “ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous vehicle)” ก็มีการใช้เทคโนโลยี HPC เพื่อพัฒนาความฉลาดของ AI ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการขับเคลื่อนของยานยนต์ด้วยเช่นกัน

       Cloud คือระบบบริการทางออนไลน์รวมถึงแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น ระบบจัดเก็บข้อมูลทางออนไลน์ อาทิ Google drive, Apple cloud, Dropbox และ One drive ระบบบริการธุรกรรมทางการเงินแบบออนไลน์ผ่าน Internet banking หรือ Mobile banking ระบบให้บริการจำหน่ายสินค้าทางออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น Shopee, Lazada และ Amazon ระบบโซเชียลมีเดีย อาทิ Facebook, Twitter และ Instagram หรือระบบสตรีมมิง อาทิ YouTube, Netflix และ Spotify ตัวอย่างสุดท้ายคือระบบ IoT (Internet of Things) เช่น การควบคุมและสั่งการทำงานเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านแอปพลิเคชัน เป็นต้น

Subscribe
Notify of
guest
2 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
theeraphat
4 months ago

คนอื่น

Loading

Rate this post