ผ้าทอลายไส้ปลาไหล
Woven fabric with eel filling pattern
จากการศึกษาตัวอย่างผ้าโบราณทั้งในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานีและในคลังสะสมส่วนบุคคลได้ข้อสังเกตว่า เจ้านายเมือง อุบลฯ มีการประยุกต์ลวดลายผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันมาใช้งาน โดยเฉพาะที่สังเกตได้ชัดเจนคือ “แพรไส้ปลาไหล” ซึ่งจากการศึกษาตัวอย่างผ้าโบราณ พบว่าเป็นสิ่งทอที่เป็นมรดกสิ่งทอที่แพร่หลายในกลุ่ม “ชาวเขมรถิ่นไทย/เขมรสูง” ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษที่มีพื้นที่ติดต่อกัน อย่างไรก็ดีก็พบว่า ช่างทอผ้าเมืองอุบลฯ ได้พยายามสร้างสรรค์ลวดลายและสีสันที่เป็นรูปแบบ
เฉพาะที่ตนเองเลือกใช้ จากการจัดเวทีชุมชนเรื่องการเรียกขานผ้านั้นจะไม่เรียกว่า “ผ้าแพรไส้เอี่ยน” แม้ว่า “เอี่ยน” แปลว่า “ปลาไหล”
“แพรไส้ปลาไหล” ที่ทอเต็มผืน ประกอบด้วย โครงสร้างลวดลาย ๒ ส่วน คือ
๑) ลวดลาย “ท้องผ้า” ที่ชาวเมืองอุบลฯ ทอลายริ้วขนาดเล็กมากคล้ายกับลายริ้วของท้องปลาไหลจึงเป็นที่มาของชื่อที่เรียกว่า “แพรไส้ปลาไหล” และในภาษาถิ่น ค าว่า “เอี่ยน” แปลว่า “ปลาไหล” แต่จะไม่น ามาเรียกเป็นชื่อผ้า เมื่อพิจารณาหลักฐานตัวอย่างผ้าโบราณและผ้าที่สืบทอดการทอผ้าอยู่ในปัจจุบัน ช่างทอผ้านิยมทอด้วยเครือเส้นยืนโดยใช้แถบสีไหมหลากสี ย้อมด้วยสีธรรมชาติ
๒) ลวดลาย “เชิงผ้า” จะมีทั้ง ๒ ด้านของริมผ้า เป็นส่วนที่เว้นทอเส้นพุ่งด้วยสีพื้นแดงครั่งไปสานกับแถบริ้วของเส้นยืน ประมาณ ๓๐ เซนติเมตร เพื่อกำหนดว่าเป็นส่วนของชายผ้า อันจะมีประโยชน์ในเวลาใช้งาน จากการศึกษาตัวอย่างผ้าโบราณ พบว่า มีการทอตกแต่งเชิงผ้าด้วยเทคนิค “ขิด” โดยนิยมใช้เส้นไหมสีขาว ทอเสริมเส้นพุ่งพิเศษ เป็นลวดลายต่างๆ ซึ่งบางลวดลายก็มีความสัมพันธ์กับลวดลายตีนซิ่น สำหรับส่วนเชิงผ้านี้อาจมีการตกแต่งลวดลายขิดที่เชิงผ้า ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตเช่นกันว่า ช่างทอผ้าชาวเมืองอุบลฯ ได้สร้างลวดลายที่คล้ายกันกับเชิงผ้าซิ่น โดยเราพบหลักฐานตัวอย่างผ้าว่า มีการใช้ลาย “กระจับย้อย” ที่คล้ายกับลายเดียวกันที่ทอบนลวดลายของตีนซิ่น แต่ลดทอนองค์ประกอบลง นอกจากนี้ยัง
พบว่า “แพรไส้ปลาไหล” ในบางท้องที่เช่น อ าเภอม่วงสามสิบจะเรียกผ้านี้ว่า “แพรอีโป้” (ผ้าขาวม้าเชิงขิด) จากการเปิดเวทีชุมชนทำให้ได้ข้อมูลว่าแต่ละท้องที่ในเมืองอุบลฯ นั้นเรียกขานผ้าชนิดเดียวกันแตกต่างกันไป อาจจะเรียก “แพรไส้ปลาไหล” หรือเรียกว่า “แพรอีโป้” หรือเรียกว่า “ผ้าขาวม้า” หรือ “ผ้าขาวม้าเชิงขิด” ขึ้นอยู่กับพื้นที่ เช่นบ้านหนองบ่อ ค่อนข้างจะใกล้ตัวเมือง ก็จะเรียกผ้านี้ตามภาษาไทยภาคกลางว่า “ผ้าขาวม้า” (ประคอง บุญขจร, ๒๕๕๗ สัมภาษณ์)
ทีมา : ผศ.ดร.สิทธิชัย สมานชาติและคณะ (2557)
good