พระพุทธศาสนา กับ วิทยาศาสตร์ :

3t

ประเด็นที่พึงศึกษา
 (๑) จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนากับของวิทยาศาสตร์
 (๒) ความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
 (๓) ความคิดแบบพุทธกับความคิดแบบวิทยาศาสตร์
 (๔) ความสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสตร์กับวิทยาศาสตร์

๑. จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนากับของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์
– แก้ไขปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
– ต้องการรู้จักกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ
พุทธศาสตร์
– เข้าใจกฎเกณฑ์ธรรมชาติในนิยาม ๕ คือ อุตุ, พีช, จิต, กรรม, ธรรมชาติ
– ต้องการให้รู้กฎเกณฑ์ความจริงของชีวิตมนุษย์

๒. ความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ ตามหลักวิทยาศาสตร์ การจะเชื่อสิ่งใดต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงเสียก่อน เอาปัญญาและเหตุผลเป็นตัวตัดสินความจริง หลักพุทธศาสนาถือว่า ความจริงจะต้องพิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติ ดุจหลัก กาลามสูตร และที่ไหนมีศรัทธาที่นั่นจะต้องมีปัญญา

๓. ความคิดแบบพุทธกับความคิดแบบวิทยาศาสตร์
๓.๑ สืบสาวหาเหตุผลของปรากฏการณ์และของทุกข์
๓.๒ การเริ่มต้นหาความจริงจากประสบการณ์ อายตนะ และสภาวธรรม คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
๓.๓ กระบวนความคิด มีดังนี้
– กระบวนการวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ๑. ตั้งปัญหาให้ชัด ๒. ตั้งคำถามชั่วคราวเพื่อตอบทดสอบ ๓. รวบรวมข้อมูล ๔. วิเคราะห์ข้อมูล ๕. ถ้าคำตอบชั่วคราวถูกตั้งทฤษฎีไว้ ๖. นำไปประยุกต์แก้ปัญหา
– กระบวนการพุทธศาสตร์ ได้แก่ ๑. ทุกข์-ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ๒. หาคำตอบจากลัทธิ ๓. ลองปฏิบัติโยคะ ๔. รวบรวมผลการปฏิบัติ ๕. ผิดก็เปลี่ยน ถูกก็ดำเนินถึงจุดหมาย ๖. เผยแผ่แก่ชาวโลก

๔. ความสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสตร์กับวิทยาศาสตร์
๔.๑ หลักไตรลักษณ์ คืออนิจจัง (impermanent) ทุกขัง (conflict) และอนัตตา (no-self)
๔.๒ การยอมรับโลกที่อยู่พ้นสสารวัตถุ (Metaphysics) ทั้งวิทยาศาสตร์และพุทธศาสตร์ยอมรับสสารวัตถุ ซึ่งรู้จักได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ว่ามีจริง โลกที่พ้นจากสสารวัตถุวิทยาศาสตร์ยังไม่ยอมรับเพราะเชื่อว่าประสาทสัมผัสเป็นเครื่องมือสุดท้ายที่จะต้องตัดสินความจริง พุทธศาสนาเชื่อว่า สัจธรรมชั้นสูงคือมรรค ผล นิพพาน ไม่อาจจะรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส รู้ได้ด้วยปัญญินทรีย์
๔.๓ การอธิบายความจริง วิทยาศาสตร์ถือว่า ความจริงเป็นสิ่งสาธารณะสามารถพิสูจน์ได้สัจธรรมทางพุทธ มีทั้งสิ่งสาธารณะและปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ – อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน
       สรุปความว่า ความแตกต่างระหว่างพุทธศาสตร์ กับ วิทยาศาสตร์ที่สำคัญคือวิทยาศาสตร์ไม่สนใจเรื่องศีลธรรม ความดีความชั่ว วางตัวเป็นกลางในเรื่องถูกผิด การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ให้ทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ ส่วนคำสอนทางพุทธ-ศาสนานั้น เป็นเรื่องศีลธรรม ความดี ความชั่ว มุ่งที่จะให้มนุษย์ในสังคมมีความสุขเป็นลำดับขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงความสงบสุขอันสูงสุดแล้วแต่ว่าใครจะไปได้แค่ไหน

ที่มา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
http://oldweb.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/Critical/07.htm

Subscribe
Notify of
guest
2 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
Thanawat Chalermpong
5 months ago

คำสอนทางพุทธศาสนา เป็นเรื่องศีลธรรม ความดี ความชั่ว
วิทยาศาสตร์ไม่สนใจเรื่องศีลธรรม ความดีความชั่ว วางตัวเป็นกลางในเรื่องถูกผิด

Loading

Rate this post