การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) โดยการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6 จำนวน 14 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) โดยการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น 3) แบบวัดทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (T-test Dependent) และหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ (E1/E2)
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6 จำนวน 14 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) โดยการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น 3) แบบวัดทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (T-test Dependent) และหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ (E1/E2)
ผลการวิจัย พบว่า 1) การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร) มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.86/82.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.86 คะแนน และ 24.71 โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (x̅= 4.78, SD = 0.22)
คำสำคัญ : แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย, นักเรียนชาติพันธุ์ลัวะ (ไปร), การจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น
Subscribe
Login
0 Comments
Oldest