ระบบแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอำเภอเขาค้อด้วยหลักการออนโทโลยี:

Recommendation system Khao Khor natural tourism by ontology

icons 7752532

บทนำ
          จังหวัดเพชรบูรณ์ได้กำหนดยุทธศาสตร์จังหวัด 5 ปี (2561-2565) โดยพัฒนาให้เป็นจังหวัด 4.0 และเป็น Area Based ที่เชื่อมต่อกับยุทธศาสตร์ 20 ปี ของประเทศไทย ซึ่งควรต้องมีการเตรียมความพร้อมและวางแนวทางการดำเนินงานร่วมกันระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการนำนวัตกรรมมาใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการท่องเที่ยวที่มีความสำคัญที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบูรณ์ จากข้อมูลกรมการท่องเที่ยว พบว่า มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2561 มีจำนวน 142,776 คน รายได้จากการท่องเที่ยวทั้งสิ้น 399.90 ล้านบาท และสถานประกอบการที่พักแรมมีอัตราการเข้าพักที่เพิ่มขึ้น และจังหวัดเพชรบูรณ์มีสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวนิยมเข้ามาเที่ยวมากที่สุด คือ อำเภอเขาค้อ เนื่องจากอากาศเย็นสบายตลอดปี เป็นศูนย์รวมความหลากหลายทางชีวภาพ พันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ รวมทั้งมีจุดท่องเที่ยวที่แวดล้อมไปด้วยทิวทัศน์ที่สวยงาม

          แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับยุค 4.0 ควรมุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชน โดยอาศัยความสามารถของเทคโนโลยีดิจิตอล ที่ช่วยให้นักท่องเที่ยวได้เข้าถึงข้อมูลสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวผ่านสื่อต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเปรียบได้ดังปัจจัยที่ 5 ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง แต่ในปัจจุบันยังพบว่า การให้บริการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติผ่านเว็บแอพพลิเคชั่นมีหลากหลายแหล่งข้อมูล ซึ่งในแต่ละแหล่งให้ข้อมูลเฉพาะบางประเด็นและไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว ที่ต้องอาศัยข้อมูลคำแนะนำและปัจจัยในการตัดสินใจทั้งในด้านเส้นทางการเดินทาง ที่พัก สิ่งอำนวยความสะดวก สถานที่ท่องเที่ยวบนทางผ่านหรืออยู่ใกล้กันที่มีความเหมาะสมกับความชอบและความสนใจของแต่ละบุคคล รวมทั้งงบประมาณ/ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ทั้งนี้เว็บแอพพลิเคชั่นต่างๆ มีขอบเขตความสามารถในการให้ผลลัพธ์เฉพาะเรื่องที่ทำการค้นหา ถ้าหากนักท่องเที่ยวต้องการข้อมูลที่หลากหลายและมีความจำเป็นที่ต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจอย่างเร่งด่วน อาจทำให้ต้องเสียเวลาในการเข้าถึงข้อมูลจากหลายๆ เว็บไซต์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีเพื่อนำมาใช้สนับสนุนการตัดสินใจให้แก่นักท่องเที่ยว

          ออนโทโลยีเป็นภาษาที่นำมาใช้บรรยายโครงสร้างและความสัมพันธ์ของระบบผ่านโหนดแบบลำดับชั้น  และถูกนำมาใช้ในงานหลายด้านโดยเฉพาะด้านปัญญาประดิษฐ์ ออนโทโลยีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสืบค้นข้อมูล โดยจะช่วยขยายคำค้นให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและได้ผลลัพธ์ตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการมากที่สุด  โดยซอฟต์แวร์ที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ จะสามารถนำเสนอข้อมูลสารสนเทศได้แบบรวมศูนย์ และมีประสิทธิภาพมากกว่าเว็บเชิงความหมายด้านการท่องเที่ยวโดยทั่วไป

วัตถุประสงค์
          1. เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
          2. เพื่อพัฒนาระบบแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ด้วยหลักการออนโทโลยี
          3. เพื่อประเมินประสิทธิภาพระบบแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ด้วยหลักการออนโทโลยี

วิธีการวิจัย

          การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งขั้นตอนการดำเนินงานออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

          ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาโครงสร้างองค์ความรู้ และเก็บรวบรวมข้อมูล/องค์ความรู้ เพื่อสร้างฐานความรู้เพื่อการแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
                            ผู้วิจัยทำการศึกษาโครงสร้างและเก็บรวบรวมข้อมูล/องค์ความรู้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ  จากเอกสารและแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่เชื่อถือได้ (Explicit knowledge)  และจากประสบการณ์ตรง (Tacit knowledge) ของผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จำนวน 5 คน โดยทำการคัดเลือกแบบเจาะจงจากผู้มีประสบการณ์ในเรื่องประวัติความเป็นมา เส้นทาง เอกลักษณ์ และจุดดึงดูดใจของสถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่ง ในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก

          ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาระบบแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ด้วยหลักการออนโทโลยี 
                            ผู้วิจัยทำการออกแบบขั้นตอนการประมวลของระบบด้วยแผนภาพ UML (Unified Modeling Language) และพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น จำแนกออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ฐานความรู้ออนโทโลยี โดยใช้โปรแกรม Protégé 2) ระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ โดยใช้โปรแกรม MySQL 3) โมดูลการจัดการฐานความรู้ออนโทโลยี และกฎเพื่อการแนะนำ โดยใช้ภาษา Python เวอร์ชัน 3 กับไลบราลี่ RDFLib และ PHP เวอร์ชัน 7 ในการคิวรี่ความรู้จากออนโทโลยีด้วยภาษา SPARQL และแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วย Json

           ขั้นตอนที่ 3 การประเมินประสิทธิภาพการทำงาน และความพึงพอใจผู้ใช้ต่อระบบแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ด้วยหลักการออนโทโลยี 
                             ผู้วิจัยทำการประเมินประสิทธิภาพระบบในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการแนะนำ โดยการหาค่า precision, recall, F-measure  และแปลผลระดับความพึงพอใจผู้ใช้ต่อระบบ โดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผู้วิจัยทำการประเมินประสิทธิภาพระบบในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการแนะนำ โดยการหาค่า precision, recall, F-measure  และแปลผลระดับความพึงพอใจผู้ใช้ต่อระบบ โดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย
          1. ผลการศึกษาและรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
ผู้วิจัยทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ จากเอกสารและแหล่งข้อมูลออนไลน์ โดยสามารถสรุปเนื้อหาองค์ความรู้ได้ดัง Table 1- Table 3

intro hundredbillion

Loading

Rate this post