การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ด้วยการสอนภาษาไทยผ่านวรรณกรรมร่วมกับกระบวนการ “ชง-เชื่อม-ใช้”

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการเรียนด้วยการสอนภาษาไทยผ่านวรรณกรรมร่วมกับกระบวนการ “ชง-เชื่อม-ใช้” 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน  กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านห้วยสะแก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การสอนภาษาไทยผ่านวรรณกรรมร่วมกับกระบวนการ “ชง-เชื่อม-ใช้” 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ เรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t–test dependent)

  ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการเรียนด้วยการสอนภาษาไทยผ่านวรรณกรรมร่วมกับกระบวนการ “ชง-เชื่อม-ใช้” มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.83 คะแนน และ 18.96 คะแนน โดยคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  2. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการสอนภาษาไทยผ่านวรรณกรรมร่วมกับกระบวนการ “ชง-เชื่อม-ใช้” ภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (M = 4.87, SD = 0.28)

Loading

Rate this post