สงครามชิป: การเมืองเรื่องเทคโนโลยี #2

Semiconductor,Chip,War,Between,Usa,And,China,Concept.,Computer,Chips

ที่มา : https://techwireasia.com/04/2023/is-the-chips-war-between-us-and-china-reaching-tipping-point/

Rare earth ในสงครามการค้าสหรัฐอเมริกา-จีน

         ในขณะที่สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนที่ได้ด าเนินมาอย่างยืดเยื้อ สหรัฐฯ ได้ออกมาตรการในการตอบโต้จีน
ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเพดานภาษี และการก าหนดมาตรการกีดกันทางการค้า อย่างไรก็ดี จีนมีหนึ่งสินค้าส าคัญ คือ แร่ธาตุหา
ยาก หรือ Rare earth เป็นตัวแปรที่จีนสามารถใช้ต่อรองในสงครามการค้านี้ ปัจจุบันจีนเป็นผู้ผลิต Rare earth หลัก โดยมี
สัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 60 ของก าลังการผลิตทั้งหมดของโลก Rare earth เป็นสินค้าที่มีราคาสูงและมีความส าคัญในการผลิต
สินค้าที่เป็นห่วงโซ่อุปทาน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเพื่อการบริโภค การอุตสาหกรรม การทหาร การ ผลิตแบตเตอรี่ สมาร์ทโฟน
เครื่องมือการสื่อสาร รวมถึงเครื่องบินขับไล่ รถยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนของอากาศยาน (Rare earth ในสงครามการค้า
สหรัฐอเมริกา-จีน, 2022.)

      Rare earth คือ กลุ่มธาตุโลหะ 17 ชนิดที่มีลักษณะคล้ายกัน ต้องใช้การตรวจสอบอย่างละเอียด
ในการคัดแยก อย่างไรก็ดี แม้จะได้ชื่อว่าเป็นธาตุหายาก แต่ในความเป็นจริง แร่ธาตุเหล่านี้มีอยู่ในเปลือกโลกในปริมาณมาก
เพียงแต่กระจัดกระจายปะปนอยู่ในสายแร่ต่าง ๆ ไม่ได้อยู่รวมแหล่งเดียวกันเหมือนสินแร่ทั่วไป การกั้นพื้นที่ท าเหมืองเพื่อสกัด
หาแร่เหล่านี้จึงท าได้ยาก และจะสกัดได้ในปริมาณน้อย ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการถลุง ใช้ต้นทุนสูง และเกิดผลเสียต่อ
สิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงและกว้างขวาง เช่น ระบบนิเวศ พื้นที่เพาะปลูก และสุขภาพชุมชน

      Rare earth มีปริมาณทั้งหมด 120 ล้านตันอยู่กระจายทั่วโลก (ยังไม่ได้ขุดขึ้นมาใช้) โดยจีนเป็น
ประเทศที่มีปริมาณส ารอง Rare earth มากที่สุดในโลกถึง 44 ล้านตัน (ร้อยละ 37 ของปริมาณส ารองทั้งหมด) รองลงมาคือ
เวียดนามและบราซิล ที่มีปริมาณส ารอง Rare earth เท่ากันที่ 22 ล้านตัน (ร้อยละ 10 ของปริมาณส ารองทั้งหมด) ส่วน
ประเทศอื่น ๆ ที่มี rare earth ได้แก่ รัสเซีย (12 ล้านตัน) อินเดีย (6.9 ล้านตัน) ออสเตรเลีย (3.3 ล้านตัน) กรีนแลนด์ (1.5
ล้านตัน) สหรัฐฯ (1.4 ล้านตัน) และที่เหลือ 7 ล้านตันที่กระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ เช่น แทนซาเนีย แอฟริกาใต้ (รูปที่ 2)
(ส านักส ารวจธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา, 2562) อย่างไรก็ตาม ด้วยกระบวนการรวบรวม แปรรูป และสกัดที่ท าให้เกิดของ
เสียอันตราย และเกิดกากแร่ที่ปล่อยกัมมันตรังสี จึงมีจ านวนประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้อย

     คาดการณ์ว่าในปี 2563 ตลาด Rare earth ทั่วโลกจะเติบโตมีมูลค่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปี 2562
จีนเป็นประเทศที่ผลิต Rare earth ได้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 62 ของการผลิตโลก รองลงมา ได้แก่ สหรัฐฯ (ร้อยละ 12)
เมียนมาร์ (ร้อยละ 10) ออสเตรเลีย (ร้อยละ 9.85) ขณะที่ไทยมีก าลังการผลิตเป็นล าดับที่ 8 ของโลก (ร้อยละ 0.84) คิดเป็น
สัดส่วนในตลาดโลกที่น้อยมาก (กรมส ารวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา, 2562) ทั้งนี้ Rare earth ที่ผลิตได้ในไทยเป็นแร่
พลอยได้จากการท าเหมืองแร่ดีบุก-วุลแฟรมในภาคใต้และภาคเหนือ แต่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าไทยมีปริมาณส ารองมากน้อยแค่
ไหน และไทยอาจไม่สามารถเพิ่มก าลังการผลิตได้อีก เนื่องจากจ านวนเหมืองแร่ดีบุกในไทยลดลง

      ประเทศที่จีนส่งออก Rare earth ในปริมาณสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่ น (ร้อยละ 36) สหรัฐฯ (ร้อยละ 33)
เนเธอร์แลนด์ (ร้อยละ 10) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 5) และอิตาลี (ร้อยละ 4) โดยปัจจัยส าคัญที่ท าให้จีนเป็นผู้ครองตลาดการส่งออก
Rare earth คือการมีปริมาณแร่มากที่สุดในโลก และมีศักยภาพในการผลิตแร่ที่ใช้ต้นทุนต ่า โดยเทียบกับประเทศอื่น ๆ อีกทั้ง
จีนกล้าเผชิญความเสี่ยงด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากผลพลอยได้เป็นขยะพิษ และกากแร่ที่ปล่อยกัมมันตรังสี ซึ่งเป็นปัจจัยที่
ท าให้บางประเทศเลือกที่จะยุติการขุด Rare earth และบริษัทผลิตสินค้าทางเทคโนโลยีจากประเทศอื่น ๆ เลือกที่จะเข้าไปตั้ง
ฐานการผลิตในจีนแทน

     อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันหลายประเทศได้เริ่มศึกษาและสกัดแร่ เช่น บริษัทในอินเดียได้ท าสัญญากับกลุ่ม Toyota ของ
ญี่ปุ่ น เพื่อส ารวจ Rare earth ในทะเลลึก ออสเตรเลียเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรม Rare earth และมีแนวโน้มเพิ่มก าลังผลิตได้อีก
มาก ขณะที่มาเลเซียได้รับเทคโนโลยีส ารวจแร่จากบริษัท LAMP ในออสเตรเลีย รัฐบาลรัสเซียก าลังพัฒนาเทคโนโลยีขุดเจาะ
เพื่อเพิ่มก าลังการผลิต ด้านเวียดนาม ซึ่งจ านวนแร่ที่ผลิตได้ตอนนี้อาจไม่สูงนัก แต่เวียดนามมีปริมาณส ารองที่ส ารวจพบแล้ว
ถึง 22 ล้านตัน

Subscribe
Notify of
guest
2 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
่่jj
่่jj
4 months ago

เจ๋งอะ

Thanawat Chalermpong
4 months ago

อนาคตจีนจะครองตลาดครับ

Loading

5/5 - (1 vote)

Tags: