บทความวิชาการ ; การดื่มกาแฟกับผลกระทบต่อสุขภาพ

รูป

ที่มา…..

บทความวิชาการ ; การดื่มกาแฟกับผลกระทบต่อสุขภาพ ในกาแฟมีคาเฟอีน หากได้รับมากเกินไปจะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง. และโรคหัวใจ ควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ. Key message: .ในกาแฟมีคาเฟอีน หากได้รับมากเกินไปจะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง
และโรคหัวใจ ควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ
1. สถานการณ์ ความส าคัญ ปัญหาที่พบ
1.1 บทวิเคราะห์จากเนื้อความข่าว
จากการแชร์ เรื่อง กาเฟอีน 2 เท่า “เตือน คอกาแฟดื่มคู่เครื่องดื่มชูก าลัง” เสี่ยงโรคหัวใจหนา ซึ่งเป็นการ
สอบถามความคิดเห็นจากแพทย์เฉพาะทาง เรื่องการดื่มเครื่องดื่มชูก าลังผสมกับกาแฟ มีฤทธิ์ให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หาก
บริโภคคาเฟอีนเกิน 250 มก.วัน จะก่อให้เกิดภาวะความดันสูงชั่วคราว และหากมากกว่า 10 กรัมต่อวัน อาจมีอันตราย
ถึงชีวิต
1.2 ข้อมูลทางวิชาการที่ส าคัญ
คาเฟอีน (1,3,7-trimethylxanthine) เป็นสารออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) สามารถพบตาม
ธรรมชาติได้ในพืชหลายชนิด เช่น กาแฟ ชา โกโก้ ถั่ว กัวรานา (guarana) และยังเป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นมาใช้เป็นวัตถุ
เจือปนอาหารในทางอุตสาหกรรม (1) นอกจากนี้ยังน ามาใช้ในทางการแพทย์อย่างแพร่หลายไปทั่วโลก (2) ส าหรับ
ประชากรทั่วไปที่มีสุขภาพดี ควรบริโภคคาเฟอีนไม่เกิน 400 มก.ต่อวัน จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอด
เลือด (3,4)
ยกเว้นหญิงมีครรภ์ ไม่ควรบริโภคคาเฟอีนไม่เกิน 300 มก.ต่อวัน (5) อาจส่งผลให้เกิดการแท้งบุตรได้
การดื่มกาแฟ 1 แก้วขนาด 150 มิลลิลิตร (กาแฟ 2 ช้อนชา) จะได้รับคาเฟอีน 80-100 มิลลิกรัม จากข้อมูล
การได้รับคาเฟอีนต่อวันของ USDA คนปกติสามารถดื่มกาแฟขนาดแก้ว 150 มิลลิลิตร ได้ 4 แก้วต่อวัน แต่ก็มีข้อควร
ระวังเช่นกัน เนื่องจากเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่บรรจุในแก้วขนาดมากกว่า 150
มิลลิลิตร อีกทั้งยังมีน้ าตาลและครีมเทียมที่ชงผสมเข้าไปในปริมาณสูง
ส าหรับเครื่องดื่มชูก าลัง เป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่มีส่วนผสมของสารคาเฟอีน (Caffeine) ในปริมาณไม่เกิน 50
มิลลิกรัม ต่อ 1 ขวด (100 – 150 มิลลิลิตร) เครื่องดื่มชนิดนี้ส่วนใหญ่เน้นไปทางด้านให้พลังงานและสร้างความตื่นตัว
ให้พร้อมท างานได้เต็มที่ เครื่องดื่มชูก าลังจะมีส่วนประกอบหลัก คือ คาเฟอีน นอกจากนั้นมีการเติมสารพวก
สารแซนทีน (Xanthine) กัวรานา (guarana) ซึ่งเป็นสารกระตุ้นระบบประสาทชนิดหนึ่ง ทอรีน (Taurine/กรดอะมิโน
ชนิดหนึ่งช่วยการท างานของกล้ามเนื้อ) สารกลูโคโนแล็คโทน (Gluconolactone) วัตถุเจือปนอาหารที่ใช้ใน
อุตสาหกรรมอาหาร) วิตามินบี และน้ าตาล ดังนั้น เครื่องดื่มชูก าลังจึงช่วยกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว กระตุ้นการเต้นของ
หัวใจ และระบบประสาทส่วนกลาง ท าให้ไม่ง่วงเหงาหาวนอน และรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้น แต่หากดื่มมากจนเกินไป
จะท าให้มีอาการกระสับกระส่าย ใจสั่น และอาจน าไปสู่อันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
การบริโภคคาเฟอีนนอกจากจะส่งผลต่อหัวใจแล้ว จาการศึกษาที่ผ่านมายังพบว่า คาเฟอีนยังส่งผลให้ความดัน
โลหิตเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ (1)
ดังนั้นการบริโภคกาแฟพร้อมกับเครื่องดื่มชูก าลัง จึงจะได้รับทั้งคาเฟอีนและสาร
กระตุ้นหัวใจไปพร้อมกันซึ่งส่งผลให้หัวใจท างานหนัก และอาจส่งผลกับความดันโลหิต หากต้องการบริโภคจึงควร
บริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในปริมาณที่เหมาะสม อีกทั้งเครื่องดื่มชูก าลังยังเต็มไปด้วยน้ าตาล หากดื่มมากจนเกินไป
อาจส่งผลท าให้ระดับน้ าตาลในเลือดสูงขึ้น หากดื่มติดต่อกันในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงใน
การเกิดโรคเบาหวาน เนื่องจากเครื่องดื่มประเภทนี้สามารถหาซื้อได้ง่ายและมีการแข่งขันทางการตลาดสูง กระทรวงสา
ธารณาสุขจึงออกประกาศให้ต้องแสดงข้อความ “ไม่ควรดื่มเกินวันละ ๒ ขวด เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม” เพื่อให้
ผู้บริโภคเกิดความตระหนักและไม่ได้รับปริมาณคาเฟอีนและสารออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทมากเกินไป
การดื่มกาแฟกับผลกระทบต่อสุขภาพ
2
ณ วันที่ 1 มีนาคม 2562
2. การด าเนินงานด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง
1) การบังคับใช้ฉลากโภชนาการ ก าหนดเป็นข้อบังคับในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 โดยออกเป็น
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข การออกฉลากโภชนาการ ระบุปริมาณคาเฟอีน น้ าตาล ในเครื่องเครื่องดื่มในภาชนะ
บรรจุที่ปิดสนิท ซึ่งรวมถึงกาแฟพร้อมดื่ม ที่จ าหน่ายตามท้องตลาด
2) การสร้างกระแสสังคม การรับรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักของประชาชน ถึงประโยชน์และโทษของ
การได้รับคาเฟอีน และการได้รับน้ าตาลที่อยู่ในเครื่องดื่มมากเกินไป ภายใต้การด าเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้าน
โภชนาการ โดยใช้หลักการกินอาหารตามธงโภชนาการให้เหมาะสมตามระดับพลังงานของตนเอง และการด าเนินงาน
ลด หวาน มัน เค็ม เติมเต็มผักผลไม้เพิ่มขึ้น ในหน่วยงานทุกระดับทั้งภาครัฐ เอกชน จนถึงระดับชุมชน
3. ข้อเสนอแนะต่อกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุข ควรให้ค าแนะน าแก่ประชาชนในด้านการอ่านฉลาก และการให้องค์ความรู้ เรื่อง
ประโยชน์และโทษของการดื่มกาแฟ เครื่องดื่มชูก าลัง หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน โดยสื่อสารผ่านช่องทางการสื่อสาร
สาธารณะที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ในวงกว้าง ดังนี้
– แนะน าให้ประชาชนงดหรือลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน โดยหันมาดื่มน้ าเปล่า นมสดรสจืดพร่อง
มันเนย หรือขาดมันเนย แทน เพื่อสุขภาพที่ดี
– หากต้องการดื่มกาแฟ ควรดื่มในปริมาณไม่เกิน วันละ 2-3 แก้ว (แก้วขนาด 150 มิลลิลิตร) หรือ ควร
สังเกตว่าตัวเอง มีความไวของการตอบสนองต่อปริมาณกาแฟกี่แก้ว มีอาการอย่างไรบ้าง เพื่อหาปริมาณที่
เหมาะสมส าหรับตนเอง
– ไม่ควรดื่มกาแฟขณะท้องว่าง เนื่องจากคาเฟอีนเร่งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
– หากดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มชูก าลังเป็นประจ า ควรกินอาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียมเพิ่มเติม เช่น นม
โยเกิร์ต ปลาเล็กปลาน้อย คะน้า บร็อคโคลี เป็นต้น เพื่อทดแทนแคลเซียมที่สูญเสียไปกับปัสสาวะ และลด
ความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
– ควรดื่มน้ าสะอาดมากๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ าจากฤทธิ์ในการขับปัสสาวะของคาเฟอีน
4. Reference และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง
เอกสารอ้างอิง
1) Turnbull D, Rodricks JV, Mariano GF, Chowdhury F. Caffeine and cardiovascular health.
Regul Toxicol Pharm. 2017;89:165-85.
2) McGuire S. Institute of Medicine. 2014. Caffeine in Food and Dietary Supplements:
Examining Safety—Workshop Summary. Washington, DC: The National Academies
Press, 2014. Oxford University Press; 2014.
3) Nawrot P, Jordan S, Eastwood J, Rotstein J, Hugenholtz A, Feeley M. Effects of caffeine
on human health. Food Addit Contam. 2003;20(1):1-30.
4) 4.https://www.efsa.europa.eu/sites/default/files/corporate_publications/files/efsaexplai
nscaffeine150527.pdf
5) https://www.who.int/elena/titles/caffeine-pregnancy/en/
6) http://elib.fda.moph.go.th/fulltext2/กฎหมาย/กองควบคุมอาหาร/ปอย/55/เครื่องดื่ม .pdf
7) https://www.doctor.or.th/article/detail/10283
8) https://www.fda.gov/ForConsumers/ConsumerUpdates/ucm350570.htm

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Loading

Rate this post

Tags: